วันที่เกษียณ

คือการหยุดทำงานประจำและไม่มีรายได้หลักอีกต่อไป

วันนี้คุณพร้อมแค่ไหน...หากวันนั้นมาถึง

วันที่เกษียณ

คือ

การหยุดทำงานประจำ

และไม่มีรายได้หลักอีกต่อไป

วันนี้คุณพร้อมแค่ไหน...

หากวันนั้นมาถึง

round

อยากเกษียณไว เริ่มต้นยังไงดี

คงจะดีไม่น้อย... หากในช่วงบั้นปลาย

เราได้ใช้ชีวิตตามที่ปรารถนา โดยไม่ต้องพึ่งพาใคร

แถมมีเงินเลี้ยงตัวเองได้อย่างสบายๆ จนถึงวันสุดท้ายของชีวิต

ทบทวนสถานะปัจจุบัน

เพื่อทราบความมั่นคงของอาชีพ รายได้ หนี้สิน และความคุ้มครอง

  • รายได้ของเราทุกวันนี้มีความมั่นคงแค่ไหน
  • มีแหล่งเงินได้กี่ทาง
  • อาชีพที่ทำอยู่มีความเสี่ยงหรือไม่
  • สามารถทำต่อไปจนถึงอนาคตได้หรือไม่
  • มีภาระหนี้สินอะไรคงค้างบ้างหรือไม่
  • มีการคุ้มครองความเสี่ยงด้านต่างๆ หรือไม่

รวบรวมเงินได้หลังเกษียณ

เพื่อทราบเงินออมเบื้องต้น

  • กองทุนประกันสังคม (เงินชราภาพ)
  • กองทุนบำเหน็จบำนาญข้าราชการ (กบข.)
  • กองทุนสำรองเลี้ยงชีพ (Provident Fund)
  • กองทุนรวมเพื่อการเลี้ยงชีพ (RMF)
  • การทำประกันชีวิตแบบสะสมทรัพย์
  • รายได้จากการลงทุนอื่น เช่น ค่าเช่า เงินปันผล ดอกเบี้ย

คำนวณเป้าหมายเกษียณ

เพื่อทราบเงินเกษียณที่เราต้องการ

  • อยากเกษียณตอนอายุเท่าไหร่
  • อายุกองทุนเกษียณจะสิ้นสุดเมื่อไหร่
  • มีค่าใช้จ่ายอะไรที่ต้องการบ้าง เช่น ค่าใช้จ่ายประจำวัน ท่องเที่ยว รักษาพยาบาล ประกัน
  • ต้องการค่าใช้จ่ายต่อเดือน/ต่อปีเท่าไหร่
  • อย่าลืม!!! รวมเงินเฟ้อเข้าไปในกองทุนด้วย

วางแผนเพื่อบรรลุเป้าหมาย

ตามความเหมาะสมและความเสี่ยง

  • ลงทุนในพันธบัตรรัฐบาล ผลตอบแทนเฉลี่ย 1-3%
  • ออมเงินในประกันสะสมทรัพย์หรือประกันบำนาญให้เงินคืนรายปี
  • ลงทุนกองทุนรวมหรือกองทุนรวม RMF ให้ผลตอบแทนเฉลี่ย 2-10%
  • ลงทุนอสังหาริมทรัพย์ให้เช่าเป็นรายได้ประจำ หรือเก็บไว้ขาย
  • ลงทุนทองคำ หรือสินทรัพย์ทางเลือกอื่นๆ ตามความถนัด

ลงมือทำตามแผนทันที!!

เพื่อให้เราเริ่มต้นในวันที่เราอายุน้อยที่สุด

  • คัดเลือกกองทุนรวมประเภทต่างๆ ตามความเสี่ยงที่เรารับได้ที่ www.set.or.th, www.thaimutualfundnews.com
  • คัดเลือกแบบประกันสะสมทรัพย์ หรือ ประกันเกษียณ Annuity ให้เงินคืนรายปีตามที่เราต้องการ
  • คัดเลือกอสังหาริมทรัพย์ให้เช่าหรือขายได้ที่ www.bam.co.th, www.ddproperty.com, www.thaihometown.com

ติดตาม ทบทวน ประเมินผล

เพื่อประเมินแผนเกษียณตามเป้า

  • การลงทุนในกองทุนรวม ต้องมีการติดตาม ทบทวน และประเมินผลอย่างน้อยทุก 6 เดือน หรือ 1 ปีและติดตามข่าวสารเกี่ยวกับเศรษฐกิจ และการเงินอยู่เสมอ
  • การออมในประกันชีวิต ไม่ต้องติดตามประเมินผล เพราะจะมีการการันตีผลตอบแทนเป็นเงินคืนตามแบบประกัน
  • การลงทุนซื้ออสังหาริมทรัพย์ เพื่อให้เช่า หรือ ขาย จะต้องดูแลทรัพย์สิน หรือราคาที่ดินอยู่เสมอ

กฎเหล็กการลงทุน

โดย วอร์เรน บัฟเฟตต์

ลงทุนในตัวเองก่อน

ความรู้และสุขภาพ

สิ่งที่สำคัญที่สุดคือการหาความรู้เรื่องการเงินการลงทุนด้วยตัวเอง และดูแลสุขภาพให้ดีก่อน

มีเป้าหมายชัดเจน

รู้ความเสี่ยงตัวเอง

ลงทุนอย่างมีเป้าหมาย และรู้ว่าตัวเองรับความเสี่ยงได้จริงแค่ไหน เพื่อจะได้เลือกสินทรัพย์ที่เหมาะสม

กระจายการลงทุน

ป้องกันความเสี่ยง

เลือกลงทุนในสินทรัพย์หลายประเภท เพื่อกระจายความเสี่ยงและผลตอบแทน

เวลาคือกำไร

ปกป้องการขาดทุน

อย่าหวั่นไหวกับความผันผวนระยะสั้น เพราะการลงทุนระยะยาวเท่านั้นคือรางวัลของความมี "วินัย"

พลังดอกเบี้ยทบต้น

สำคัญกว่าเงินปันผล

การนำเงินปันผลและกำไรมาลงทุนต่อโดยไม่นำออกมาใช้ก่อน จะผลิดอกออกผลให้เราอย่างไม่รู้จบ

คำนวณแผนเกษียณ 10 ล้าน

ตอบโจทย์ชีวิตแต่ละวัย

มาดูจำนวนเงินออมที่ต้องใช้ในวัยต่างๆ

โจทย์ชีวิต : หาเงินเกษียณของ 4 กลุ่มในวัยต่างกัน

เป้าหมายเกษียณที่ต้องการ 10 ล้านบาท

  • เพื่อทราบเงินที่ต้องออมต่อเดือน ณ ปัจจุบัน
  • กลุ่ม 1 : วัยเริ่มทำงาน (First Jobber) อายุ 25 ปี
  • กลุ่ม 2 : วัยสร้างครอบครัว อายุ 35 ปี
  • กลุ่ม 3 : วัยสะสมความมั่งคั่ง อายุ 45 ปี
  • กลุ่ม 4 : วัยก่อนเกษียณ อายุ 55 ปี

สมมุติฐาน :

  • คำนวณกรณีที่ยังไม่มีเงินต้นในการลงทุน
  • ลงทุนในกองทุนรวมหุ้นดัชนี SET50 (มีความเสี่ยงสูง) โดยคาดหวังผลตอบแทนเฉลี่ยทบต้นปีละ 8%

แผนการใช้ชีวิตวัยเกษียณที่ต้องการ

  • ต้องการเกษียณตอนอายุ 60 ปี
  • ต้องการใช้เงินเกษียณจนถึงอายุ 85 ปี มีเวลาใช้เงินช่วงเกษียณอายุ รวม 25 ปี
  • ต้องการค่าใช้จ่ายเดือนละ 30,000 บาท (ยังไม่รวมเงินเฟ้อ 3%)
  • หลังเกษียณยังนำเงินไปลงทุนต่อ ให้ได้ผลตอบแทนเท่ากับเงินเฟ้อ 3% เพื่อให้มูลค่าเงินที่ต้องการใช้เท่าเดิม

วางแผนเกษียณด้วยการลงทุน

การลงทุนในกองทุนรวม มีโอกาสสร้างกำไร หากมีวินัยออมยาว

วิธีการลงทุนด้วยกองทุนรวม เพื่อเป้าหมายเกษียณ จำนวน 10 ล้านบาท

1) ออมเงินตามวัยอย่างต่อเนื่องทุกเดือน

  • วัยเริ่มทำงาน เดือนละ 5,000 บาท (35 ปี)
  • วัยสร้างครอบครัว เดือนละ 11,500 บาท (25 ปี)
  • วัยสะสมความมั่งคั่ง เดือนละ 31,000 บาท (15 ปี)
  • วัยก่อนเกษียณ เดือนละ 145,000 บาท (5 ปี)

2) ศึกษาและลงทุนในกองทุนรวมตามความเสี่ยงที่รับได้

  • หากต้องการผลตอบแทนเฉลี่ย 8% ควรเลือกการลงทุนในกองทุนตราสารทุนเป็นหลัก
  • หากไม่สามารถรับความเสี่ยงสูงได้ ควรลดสัดส่วนการลงทุนในกองทุนตราสารทุน แล้วเพิ่มการลงทุนในตราสารหนี้ แต่ผลตอบแทนต่อปีจะลดลง
  • หากเลือกกองทุนรวมหุ้นระยะยาว RMF จะได้สิทธิ์ลดหย่อนภาษี 30% ของรายได้

3) ศึกษา หาข้อมูล ทบทวน และประเมินผลกองทุนทุก 6 เดือน หรือ 1 ปี

4) หากเกิดเหตุไม่คาดฝัน แต่ไม่มีการคุ้มครองความเสี่ยง

  • กรณีเสียชีวิต คนที่คุณรักจะได้รับผลตอบแทนจากการขายหน่วยลงทุน
  • กรณีเจ็บป่วย หรือตรวจพบโรคร้ายแรง อาจจำเป็นต้องขายหน่วยลงทุนมาเป็นค่ารักษาพยาบาล
  • กรณีเกิดทุพพลภาพหรือทำงานไม่ได้ การลงทุนในกองทุนรวม ไม่มีการชดเชยความเสี่ยงด้านนี้

หมายเหตุ : เป้าหมายของแต่ละบุคคลไม่เหมือนกัน ขึ้นอยู่กับสถานะทางการเงิน ภาระความรับผิดชอบ ภาระหนี้สิน และผู้อุปการะ ดังนั้น จึงควรปรึกษานักวางแผนการเงิน (Financial Advisor) เพื่อให้บรรลุเป้าหมายในทุกด้านอย่างมั่นคง

วางแผนเกษียณด้วยประกันบำนาญ

การันตีรับบำนาญ พร้อมได้สิทธิ์ภาษี อุ่นใจเพราะมีความคุ้มครอง ไม่ต้องกังวลผลการลงทุน

โจทย์ชีวิต

  • หัวหน้าครอบครัว เพศชาย อายุ 35 ปี
  • มีลูกชาย 1 คน
  • อาชีพ ธุรกิจส่วนตัว
  • รายได้เดือนละ 100,000 บาท (1,200,000/ปี)
  • ได้รับโบนัส 3 เดือน (300,000 บาท)
  • รวมรายได้ต่อปี 1,500,000 บาท
  • มีหนี้บ้านและรถยนต์ส่วนตัว คงค้าง 1 ล้านบาท
  • เป้าหมายเกษียณที่ต้องการ 10 ล้านบาท

แผนการใช้ชีวิตวัยเกษียณที่ต้องการ

  • ต้องการเกษียณตอนอายุ 60 ปี
  • ต้องการใช้เงินเกษียณจนถึงอายุ 85 ปี
  • มีเวลาใช้เงินช่วงเกษียณอายุรวม 25 ปี
  • ต้องการค่าใช้จ่ายหลังเกษียณเดือนละ 30,000 บาท (ปีละ 360,000 บาท)
  • ต้องการนำเบี้ยประกันบำนาญไปลดหย่อนภาษี 30% ของรายได้
  • หากเสียชีวิต หรือทุพพลภาพ ต้องการเงินก้อนให้ครอบครัวเพื่อใช้จ่ายและชำระหนี้สินคงค้าง

วิธีการออมเงินเกษียณด้วยประกันบำนาญ เพื่อเป้าหมายเกษียณ จำนวน 10 ล้านบาท

1) ออมเงินด้วยประกันบำนาญ ทุนประกันวงเงิน 3,600,000 บาท

  • ชำระเบี้ยประกันคงที่ 25 ปี จำนวน 203,400 บาท (เดือนละ 16,950 บาท)
  • ทุนประกันเพิ่มขึ้นเรื่อยๆ จนถึง 7,200,000 บาท (200%) ช่วงอายุ 51-59 ปี

2) เมื่อชำระครบสัญญาถึงอายุ 59 ปี

  • รับบำนาญตั้งแต่อายุ 60-85 ปีๆ ละ 360,000 บาท จำนวน 26 ครั้ง
  • รวมรับบำนาญสะสม จำนวน 9,360,000 บาท
  • รวมชำระเบี้ยตลอดสัญญา 5,085,000 บาท

3) ระหว่างทางใช้สิทธิ์ลดหย่อนภาษีประกันบำนาญได้ 200,000 บาท รวม 25 ปี

4) หากเกิดเหตุไม่คาดฝัน

  • กรณีเสียชีวิตช่วงที่ชำระเบี้ยจะได้รับทุนประกัน 3,600,000 บาท
  • กรณีเสียชีวิตในช่วงรับเงินบำนาญ กรมธรรม์จะมีมูลค่าเงินสด
  • กรณีทุพพลภาพถาวร รับเงินก้อน 3,600,000 บาท

หมายเหตุ : เป้าหมายของแต่ละบุคคลไม่เหมือนกัน ขึ้นอยู่กับสถานะทางการเงิน ภาระความรับผิดชอบ ภาระหนี้สิน และผู้อุปการะ ดังนั้น จึงควรปรึกษานักวางแผนการเงิน (Financial Advisor) เพื่อให้บรรลุเป้าหมายในทุกด้านอย่างมั่นคง

จุดเด่นประกันบำนาญ

เครื่องมือวางแผนการเงินที่คุ้มครองรอบด้าน

ออมก่อน เบี้ยถูกกว่า

รับคุ้มครองชีวิตถึงอายุ 60 ปี

รับบำนาญ 10% ของทุน

ตั้งแต่อายุ 61-85 ปี (26 ปี)

การันตีเงินบำนาญ 15 ปี

หากผู้เอาประกันเสียชีวิต

ได้สิทธิ์ลดหย่อนภาษี

ไม่เกิน 30% ของรายได้พึงประเมิน (200,000 บาท)

กรณีทุพพลภาพถาวร

หากไม่เสียชีวิต แต่เกิดทุพพลภาพ ได้รับทุนประกัน

คุ้มครองสุขภาพ

ซื้อความคุ้มครองสุขภาพแนบสัญญาหลักได้