ประกันวินาศภัย

NON-LIFE

INSURANCE

การประกันวินาศภัยคืออะไร

การประกันภัยทุกประเภทที่นอกเหนือจากการประกันชีวิต โดยผู้รับประกันภัยตกลงจะชดใช้ค่าสินไหมทดแทน ให้ผู้เอาประกันภัยหากทรัพย์สินที่ทําประกันภัยเอาไว้เกิดความสูญเสีย หรือ เสียหายจากภัยต่างๆ ซึ่งความเสียหายนั้นสามารถประเมินค่าเป็นตัวเงินได้

การประกันวินาศภัยมีกี่ประเภท

การประกันวินาศภัยแบ่งออกเป็น 4 ประเภท

การประกันอัคคีภัย (FIRE INSURANCE)

1. การประกันอัคคีภัยคืออะไร

การประกันอัคคีภัยที่เกิดตามกรมธรรม์มาตรฐาน ให้ความคุ้มครอง ความเสี่ยงภัย ของทรัพย์สินที่เกิดจากเพลิงไหม้ ฟ้าผ่า หรือ การเกิดระเบิดของแก็สที่ใช้ในการหุงต้ม หรือให้แสงสว่างเพื่อประโยชน์ในการอยู่อาศัย

2. ทำไมต้องประกันอัคคีภัย

ทรัพย์สินที่ท่านเป็นเจ้าของ หรือต้องรับผิดชอบต่อความสูญเสีย อันเนื่องจากอุบัติภัยที่อาจเกิดขึ้นในอนาคต ความสูญเสียนั้น จะได้รับการชดใช้ เมื่อท่านโอนความเสี่ยงภัยให้กับบริษัทประกันภัย เป็นผู้รับผิดชอบแทนท่าน ซึ่งการทำประกันอัคคีภัยเป็นส่วนหนึ่งที่ช่วยท่านได้

3. การประกันอัคคีภัยให้ความคุ้มครองอย่างไร

บริษัทฯ จะชดใช้ค่าเสียหาย หรือความสูญเสียต่อทรัพย์สินของท่าน อันเกิดจากเพลิงไหม้ด้วยสาเหตุต่างๆ ทั้งจากความประมาทเลินเล่อ หรือจากอุบัติเหตุ หรือจากภัยธรรมชาติ ยกเว้นความคุ้มครองในกรณีที่เกิดจากการรู้เห็นเป็นใจของผู้เอาประกันเอง นอกจากนี้ บริษัทฯยังขยายความคุ้มครองเพิ่มเติมได้อีก เช่น ภัยน้ำท่วม ภัยลมพายุ ภัยเปียกน้ำ ภัยจราจล และนัดหยุดงาน ฯลฯ โดยท่านชำระเบี้ยประกันเพิ่มเติมอีกเพียงเล็กน้อยเท่านั้นการประกันอัคคีภัยที่เกิดตามกรมธรรม์มาตรฐาน ให้ความคุ้มครอง ความเสี่ยงภัย ของทรัพย์สินที่เกิดจากเพลิงไหม้ ฟ้าผ่า หรือ การเกิดระเบิดของแก็สที่ใช้ในการหุงต้ม หรือให้แสงสว่างเพื่อประโยชน์ในการอยู่อาศัย

4. ผลิตภัณฑ์ประกันภัยอัคคีภัย

  • แผนประกันบ้านอยู่และค้า
  • แผนบ้านแบบประหยัด
  • แผนคอนโดมีสุข และแผนคอนโดเปี่ยมสุข
การประกันภัยรถยนต์

การประกันความเสียหายอันเกิดจากการใช้รถยนต์

1.การประกันภัยรถยนต์ภาคบังคับ (พ.ร.บ.) หมายความถึง การประกันภัยรถยนต์ที่ถูกบังคับโดยกฏหมาย เพื่อความคุ้มครองต่อความสูญเสียของชีวิต ร่างกายบุคคล ผู้ประสบภัยจากรถยนต์ ในปัจจุบัน ประเทศไทยมีกฏหมายที่เรียกว่า “พระราชบัญญัติคุ้มครองผู้ประสบภัยจากรถ พ.ศ.2535″


2.การประกันภัยรถยนต์ภาคสมัครใจ หมายความถึง การประกันภัยที่เกิดขึ้น โดยความสมัครใจ ของเจ้าของรถยนต์ ผู้ครอบครองรถยนต์หรือผู้ขับขี่รถยนต์โดยไม่ได้เกิดจากการถูกบังคับโดยกฏหมาย แต่อย่างใด การประกันภัยรถยนต์ ที่ใช้กันอย่างแพร่หลาย ในตลาดประกันภัยในปัจจุบันนี้เป็นการประกันภัยในภาคสมัครใจ

ปัจจุบันกรมธรรม์ประกันภัยรถยนต์ภาคสมัครใจแบบใหม่ แบ่งออกเป็น 2 แบบ คือ

1.กรมธรรม์แบบไม่ระบุชื่อผู้ขับขี่ (UN-Named Driver) เป็นกรมธรรม์แบบเดิมที่คุ้มครองผู้ขับขี่คนใดก็ได้ที่ผู้เอาประกันภัย ยินยอมให้ขับขี่เสมือนหนึ่งเป็น ผู้เอาประกันภัย

2.กรมธรรม์แบบระบุชื่อผู้ขับขี่ (Named Driver) เป็นกรมธรรม์แบบใหม่ที่นำเอาอายุผู้ขับขี่มาเป็นองค์ประกอบในการกำหนดอัตราเบี้ยประกันภัย และคุ้มครองแต่ผู้เอาประกันภัยต้องร่วมรับผิด ต่อค่าเสียหายที่เกิดขึ้นของอุบัติเหตุแต่ละครั้งด้วย กรมธรรม์แบบนี้ผู้เอาประกันภัยต้องเป็นบุคคลธรรมดาที่ใช้รถส่วนบุคคล และสามารถระบุชื่อผู้ขับขี่ได้ ไม่เกิน 2 คน

2. ประกันภัยรถยนต์ภาคสมัครใจให้บริการคุ้มครองรถยนต์ 5 ประเภท

ประเภท 1 (ป1)
ประเภท 2 (ป2)
ประเภท 2 (ป2+)
ประเภท 3 (ป3)
ประเภท 3 (ป3+)

• ให้ความคุ้มครองรถยนต์ในทุกกรณีเมื่อเกิดเหตุ รวมทั้งวิกฤติน้ำท่วม

• ให้ความคุ้มครองเฉพาะรถยนต์ของคู่กรณี

• ให้ความคุ้มครองรถยนต์ของคู่กรณี

ให้ความคุ้มครองเฉพาะรถยนต์ของคู่กรณี

• ให้ความคุ้มครองเฉพาะรถยนต์ของคู่กรณี

• รับผิดชอบทั้งรถยนต์ของเรา และรถยนต์ของคู่กรณี

• ส่วนรถยนต์ของเราคุ้มครองเฉพาะกรณีสูญหายหรือไฟไหม้

• ให้ความคุ้มครองรถยนต์ของเราก็ต่อเมื่อสามารถระบุคู่กรณีที่เป็นยานพาหนะทางบกได้เท่านั้น

• ส่วนรถยนต์ของเราไม่คุ้มครองใดๆ

• ให้ความคุ้มครองรถยนต์ของเราก็ต่อเมื่อสามารถระบุคู่กรณีที่เป็นยานพาหนะทางบก ได้เท่านั้น

• กรณีสูญหาย ไฟไหม้จะคุ้มครองเฉพาะรถยนต์ของเรา

• เบี้ยประกันภัยจะเป็นราคาประหยัด

• เบี้ยประกันภัยจะเป็นราคาประหยัด

การประกันภัยทางทะเลและขนส่ง (MARINE INSURANCE)

1. การประกันภัยทางทะเลและขนส่งคืออะไร

คุ้มครองความสูญเสียหรือความเสียหายที่เกิดจากภัยทางทะเลในระหว่างการเดินทางหรือการขนส่งทางทะเล ซึ่งวินาศภัยที่เกิดขึ้นกับตัวเรือและสินค้าที่บรรทุกในเรือ

2. การประกันภัยทางทะเลแบ่งเป็นกี่ประเภท

  1. การประกันภัยตัวเรือ ( MARINE HULL INSURANCE )
  2. การประกันภัยการขนส่งสินค้าทางทะเล ( MARINE CARGO INSURANCE )

ปัจจุบันระบบการขนส่งสินค้ามิได้จำกัดเฉพาะเพียงการขนส่งโดยทางเรือเท่านั้น แต่มีทั้งการขนส่งด้วยยานพาหนะแบบอื่นๆ ด้วย เช่น รถยนต์ รถไฟ และทางเครื่องบิน ประกอบกับความต้องการของผู้เอาประกันภัยมีเพิ่มมากขึ้น กล่าวคือ มิได้ต้องการขนส่งทางทะเลเท่านั้นแต่ยังต้องการให้คุ้มครองตลอดระยะเส้นทางจากต้นทางโดยผู้ขาย ไปสู่ปลายทางของลูกค้า

3. เอกสารสำคัญๆที่เกี่ยวข้อง มี 4 ชนิด

1.ใบกำกับสินค้า (INVOICE) เป็นเอกสารที่ผู้ขายออกให้แก่ผู้ซื้อ เพื่อแสดงเจตนาการขายสินค้า ในเอกสารฉบับนี้แสดงรายละเอียดเกี่ยวกับปริมาณ คุณลักษณะและราคาของสินค้าที่ส่ง รวมทั้งเงื่อนไขของการซื้อขาย

2.ใบตราส่งสินค้า (BILL OF LADING) เป็นหลักฐานแสดงถึงการทำสัญญาขนส่งสินค้าระหว่างบริษัทเรือและผู้ส่งสินค้า (ผู้ขายสินค้า) เอกสารนี้นอกจากจะเป็นสัญญาการขนส่งสินค้าแล้ว ยังถือว่าเป็นใบรับสินค้าเพื่อทำการขนส่ง ซึ่งบริษัทเรือเป็นผู้ออกให้แก่ผู้ส่งสินค้า

3.ตั๋วแลกเงินหรือดร๊าฟ (BILL OF EXCHANGE) คือเอกสารที่ผู้ขายสินค้าเป็นผู้สั่งจ่าย โดยสั่งให้ผู้ซื้อสินค้าจ่ายเงินค่าสินค้าแก่บุคคลผู้มีชื่อระบุไว้ในตั๋วแลกเงิน หรือตามคำสั่งของของบุคคลดังกล่าวนั้น

4.กรมธรรม์ประกันภัยการขนส่งสินค้าทางทะเล (MARINE CARGO INSURANCE POLICY )

4. เงื่อนไขการซื้อขายสินค้าที่ใช้ในการค้าระหว่างประเทศ มี 3 แบบ

1.CI.F. (COST, INSURANCE AND FREIGHT) ราคาสินค้า + ค่าระวางเรือเดินสมุทร + ค่าประกันภัย

2.F.O.B. ( FREE ON BOARD ) ราคาเฉพาะค่าสินค้าอย่างเดียว

3.C & F (COST AND FREIGHT) ราคาสินค้า + ค่าระวางเรือเดินสมุทร

5. เงื่อนไขความคุ้มครองการประกันภัยขนส่งสินค้า

1.Institute Cargo Clauses (A) – ICC (A) ให้ความคุ้มครองความเสียหายจากภัยทุกอย่าง ยกเว้น ที่ระบุในข้อยกเว้น

2.Institute Cargo Clauses (B) – ICC (B) นอกจากความคุ้มครองตาม ICC (C) แล้ว ยังรวมความคุ้มครองถึงแผ่นดินไหว ภูเขาไฟระเบิด ฟ้าผ่า สินค้าถูกน้ำทะเลซัดตกเรือไป น้ำจากแม่น้ำ ทะเลสาบ หรือน้ำรั่วไหลเข้ามาในเรือ ในยานพาหนะ ในระวางหรือในตู้ลำเลียง หรือในสถานที่เก็บสินค้า สินค้าทั้งหีบห่อเสียหายโดยสิ้นเชิงเพราะตกจากเรือ หรือจากการขนขึ้นลงจากเรือหรือยานพาหนะ

3.Institute Cargo Clauses (C) – ICC (C) คุ้มครองความเสียหายหรือสูญเสีย (ไม่ว่าบางส่วนหรือทั้งหมด) เนื่องจากเพลิงไหม้ ระเบิด เรือเกยตื้น จมหรือล่ม ยานพาหนะทางบกพลิกคว่ำ หรือตกราง เรือหรือยานพาหนะชนหรือโดนกับวัตถุอื่นใด การขนส่งสินค้าลงจากเรือ ณ ท่าหลบภัย ความเสียหายที่เกิดกับส่วนรวม สินค้าถูกโยนทิ้งทะเล

*สถาบันผู้รับประกันภัยแห่งลอนดอน ( London Underwriter ) ร่างขึ้นมาใหม่

การประกันภัยเบ็ดเตล็ด (Miscellaneous Insurance)

1. การประกันภัยเบ็ดเตล็ดคืออะไร

  • ความคุ้มครองเกี่ยวกับตัวบุคคล เช่น การประกันภัยอุบัติเหตุส่วนบุคคล, การประกันภัยอุบัติเหตุการเดินทาง การประกันภัยสุขภาพ และการประกันภัยผู้เล่นกอล์ฟ เป็นต้น
  • ความคุ้มครองเกี่ยวกับทรัพย์สิน เช่น การประกันภัยโจรกรรม, การประกันภัยสำหรับเงิน, การประกันภัยกระจก, การประกันภัยป้ายโฆษณา และการประกันภัยความเสี่ยงภัยทรัพย์สิน เป็นต้น
  • ความคุ้มครองความรับผิดตามกฎหมายต่อบุคคลภายนอก เช่น การประกันภัยความรับผิดต่อสาธารณะ, การประกันภัยความรับผิดจากผลิตภัณฑ์, การประกันภัยความรับผิดจากวิชาชีพ และการประกันภัยความรับผิดของกรรมการและเจ้าหน้าที่ เป็นต้น
  • ความคุ้มครองเกี่ยวกับภัยอื่นๆ เช่น การประกันภัยพืชผล, การประกันภัยปศุสัตว์, การประกันภัยอิสรภาพ และการประกันภัยสำหรับเจ้าบ้าน เป็นต้น

ตัวอย่างการประกันภัยเบ็ดเตล็ด