เราไม่อาจอยู่ได้...โดยปราศจาก

การปกป้องคุ้มครองที่เพียงพอ

...เบื้องหลังกำแพงที่แข็งแกร่งของ

การประกันภัย การออม

และการลงทุนที่เหมาะสม

จะทำให้เราปกป้องตัวเอง

จากโศกนาฏกรรมที่ไม่คาดฝันได้

“The Richest Man in Babylon”

George S. Clason

round

4 หัวใจสำคัญ

ของการวางแผนการเงินส่วนบุคคล

 1

การวางแผนการเงินเป็นสิ่งที่ต้องเรียนรู้ตลอดชีวิต

ยิ่งเริ่มต้นเร็ว ก็จะได้เก็บเกี่ยวผลประโยชน์เร็ว และทำให้มีเวลาในการออมเพิ่มมากขึ้น

 2

การวางแผนการเงินเป็นมากกว่าการลงทุน

มันคือภาพใหญ่ ที่จะทำให้เราเห็นมุมมองของการเงินส่วนบุคคลทั้งหมด เพื่อให้บรรลุเป้าหมายทางการเงิน

 3

การวางแผนการเงินไม่ใช่การดำเนินการเพียงครั้งเดียวจบ! 

ต้องตรวจสอบและทบทวนแผนการเงินอยู่เสมอ เพื่อให้แน่ใจว่าเราได้เดินมาถูกทาง ตามเป้าหมายที่วางไว้

 4

การวางแผนการเงินมีประโยชน์สำหรับคนทุกวัย

ใช่แค่เศรษฐีพันล้านเท่านั้น ที่ต้องวางแผนการเงิน ไม่ว่าจะมีรายได้หรือเงินออมเท่าไหร่ ก็ไช้ประโยชน์จากแผนการเงินได้เสมอ

แผนการเงินที่ดีเป็นอย่างไร

เป็นแผนที่ช่วยให้เราสามารถบรรลุเป้าหมายทางการเงินในแต่ละช่วงชีวิตได้


  • ตอบโจทย์ความจำเป็นด้านการเงินในวันนี้ โดยการบริหารเงินออมและการใช้จ่าย
  • ตอบโจทย์เป้าหมายทางการเงินในอนาคต โดยการวางแผนการออมในแต่ละช่วงชีวิต เช่น การซื้อบ้าน และการแต่งงาน
  • ให้ความคุ้มครองคุณและครอบครัว โดยการกำหนดแผนการประกันที่เหมาะสม หากมีเหตุไม่คาดฝันเกิดขึ้น
  • ตอบโจทย์แผนเกษียณให้คุณสามารถออมเงินได้มากพอสำหรับใช้จ่ายในวันเกษียณ
  • มีเงินออมกรณีฉุกเฉินเพื่อสร้างเกราะป้องกันทางการเงินเพื่อรับมือกับวิกฤติที่ไม่คาดคิด

The Wealth Triangle

สามเหลี่ยมแห่งความมั่งคั่ง โดย Dan Lok

"Wealth Triangle™ เป็นความเรียบง่ายทางการเงินที่พิสูจน์แล้วว่าเป็นทางตรงสู่การเพิ่มรายได้และเพิ่มความมั่งคั่งในระยะยาว"


VDO : https://www.youtube.com/watch?v=hjgN-K_b7nk

เครดิตภาพ : https://www.espeakers.com

มาวางแผนการเงินกัน

ค้นหาตัวเลขของแต่ละเป้าหมายสำคัญในชีวิต

  • 1.สำรวจตัวเอง
  • 2.ค้นหาเป้าหมาย
  • 3.ประเมินความเสี่ยง
  • 4.ลงมือวางแผน
  • 5.ทบทวนผล
1.สำรวจตัวเอง

สำรวจสถานะทางการเงิน

ทำความเข้าใจสถานะทางการเงินในปัจจุบัน โดยการติดตามการใช้จ่ายรายวันเพื่อทราบพฤติกรรมทางการเงินของตัวเอง

เริ่มต้นจากการจดรายการทรัพย์สินและหนี้สินทั้งหมด และจดบันทึกรายรับรายจ่ายในแต่ละเดือน เพื่อทราบกระแสเงินสดคงเหลือ หรือเงินออมคงเหลือ หากตัวเลขติดลบ ต้องมาบริหารจัดการหนี้สินที่เป็นหนี้ระยะสั้นแต่ดอกเบี้ยสูงสุดก่อน จากนั้นค่อยเริ่มออมเงินสดฉุกเฉิน (Emergency Cash)

2.ค้นหาเป้าหมาย

กำหนดเป้าหมายทางการเงิน

สำรวจเป้าหมายทางการเงินแต่ละด้าน

แผนการเงินแต่ละเป้าหมายแบ่งออกเป็นแผนระยะสั้น ระยะกลาง และระยะยาว ตามแต่ละช่วงชีวิต เราจะทราบงบประมาณ ระยะเวลาการลงทุนและวางกลยุทธ์ในการออมและลงทุนที่เหมาะสมได้ หากเรามีเป้าหมายที่ชัดเจน

  • แผนระยะสั้น เช่น การบริหารหนี้บัตรเครดิต ออมเงินสดฉุกเฉิน หรือท่องเที่ยว
  • แผนระยะกลาง เช่น การแต่งงาน เตรียมเงินดาวน์บ้าน
  • แผนระยะยาว เช่น แผนคุ้มครองความเสี่ยง การศึกษาลูกแผนเกษียณ แผนมรดก
  • แผนภาษีเป็นแผนที่วางควบคู่ไปกับทุกเป้าหมาย
3.ประเมินความเสี่ยง

เรียนรู้ความเสี่ยงของตัวเอง

ทำความเข้าใจความเสี่ยงในการลงทุน และการยอมรับความเสี่ยงของตัวเอง

ความเสี่ยงมีหลากหลายรูปแบบ ทั้งความเสี่ยงในแต่ละช่วงวัย ความเสี่ยงทางการลงทุน และการประเมินความเสี่ยงที่เรารับได้จริง เพราะการลงทุนที่มีผลตอบแทนสูงมักจะมาพร้อมกับความเสี่ยงสูงเสมอ แผนการเงินแต่ละเป้าหมายมีความเสี่ยงที่ต่างกัน เราเต็มใจยอมรับความสูญเสียที่อาจจะเกิดขึ้นเพื่อแลกกับผลตอบแทนที่มากขึ้นได้จริงหรือ? หากผลการลงทุนไม่เป็นไปตามเป้าหมายที่วางไว้ อาจจะส่งผลต่อแผนการใช้เงินในวัยเกษียณ เรารับความเสี่ยงนี้ได้มากน้อยเพียงใด?

4.ลงมือวางแผน

วางแผนและลงมือทำ

ศึกษาและทำความรู้จักกับสินทรัพย์การลงทุนกำหนดกลยุทธ์แผนการลงทุนแต่ละเป้าหมาย และลงมือดำเนินการตามแผนอย่างมีวินัย

แผนการเงินที่สำคัญและจำเป็นต้องวางแผนอย่างเร่งด่วน ควบคู่กับการออมเงินฉุกเฉิน คือ แผนคุ้มครองความเสี่ยง เนื่องจากเป็นแผนที่จะช่วยให้เป้าหมายด้านอื่นๆ ดำเนินไปอย่างไม่สะดุดลงกลางคัน หากเกิดเหตุการณ์ไม่คาดฝัน ส่วนการเลือกกลยุทธ์การลงทุนในแผนอื่นๆ นั้น เป็นเรื่องที่เราต้องศึกษาหาความรู้ และทำความเข้าใจในสินค้าทางการเงินด้วยตัวเราเอง หรือปรึกษาที่ปรึกษาทางการเงิน เพื่อที่เราจะตัดสินใจได้ว่าเราควรลงทุนในสินทรัพย์ใด ความเสี่ยงแบบไหน

5.ทบทวนผล

การทบทวนและติดตามผล

เป็นขั้นตอนที่สำคัญที่สุดในการวางแผนการเงิน และจำเป็นต้องทบทวนทุก 6 เดือน-1 ปี อย่างสม่ำเสมอ

มีวินัยในการทบทวนงบประมาณและพอร์ตการลงทุนเป็นระยะ โดยการปรับการลงทุนให้สมดุลตามความจำเป็นและตามความเสี่ยงของเรา ไม่ลงทุนในสินทรัพย์ใดสินทรัพย์หนึ่งมากเกินไป หากเกิดการเปลี่ยนแปลงครั้งใหญ่ของตลาด หรือเมื่อเราเข้าสู่ช่วงวัยต่างๆ ของชีวิต ควรปรับปรุงแผนให้สอดคล้องกับเป้าหมายทางการเงิน บนหลักการกระจายความเสี่ยง

หมายเหตุ : เป้าหมายของแต่ละบุคคลไม่เหมือนกัน ขึ้นอยู่กับสถานะทางการเงิน ภาระความรับผิดชอบ ภาระหนี้สิน และผู้อุปการะ ดังนั้น จึงควรปรึกษานักวางแผนการเงิน (Financial Advisor) เพื่อให้บรรลุเป้าหมายในทุกด้านอย่างมั่นคง