...การสะสมความมั่งคั่ง...ใช่เรื่องง่าย...

การส่งมอบความมั่งคั่ง...ยากยิ่งกว่า

ปกป้องความมั่งคั่งในวันที่คุณยังอยู่...ด้วย

การวางแผนมรดก

เพื่อความสบายใจทั้งของ

"คนให้" และ "คนรับ"

thin

การวางแผนมรดก

Estate Planning

นับเป็นแผนการเงินที่สำคัญที่สุดแผนหนึ่ง เพราะเป็นการวางแผนส่งมอบทรัพย์สินของเราที่สะสมมาตลอดชีวิต ในรูปแบบของ “พินัยกรรม” ไปยังผู้ที่เราต้องการ ในเวลาอันรวดเร็ว และมีค่าใช้จ่ายน้อยที่สุด ที่สำคัญคือควรทำก่อนที่เราจะล้มป่วย เจ็บหนัก หรือขาดสติสัมปชัญญะ

thin

5 ขั้นตอนต้องรู้ก่อนวางแผนมรดก

01


รวบรวมทรัพย์-หนี้

รวบรวมทรัพย์สินและหนี้สิน

เพื่อแบ่งแยกให้ชัดเจนว่าเราว่ามีทรัพย์สิน หนี้สินเท่าไหร่ จากนั้น จึงวางแผนจัดสรรว่าส่วนใดที่จะเป็นเงินเกษียณของเราในอนาคต ส่วนใดจะเป็นการชำระหนี้ และส่วนใดจะมอบให้กับทายาทคนไหน ในกรณีที่ที่เราจากไปโดยไม่ได้ทำพินัยกรรมทิ้งไว้ หรือมีพินัยกรรมแต่หาไม่พบ ทรัพย์สินจะถูกจัดสรรให้แก่ทายาทตามลำดับและสัดส่วนทางกฎหมายที่ได้กำหนดไว้ ดังนี้

1) บุตรและคู่สมรส

2) บิดามารดา

3) พี่น้องร่วมบิดามารดาเดียวกัน

4) พี่น้องร่วมบิดาหรือร่วมมารดาเดียวกัน

5) ปู่ ย่า ตา ยาย

6) ลุง ป้า น้า อา

เขียนพินัยกรรมที่เหมาะสม

การทำ “พินัยกรรม” ถือเป็นส่วนประกอบสำคัญในการวางแผนมรดก เพื่อใช้ในการจัดการทรัพย์สินของเราให้แก่ทายาทหรือผู้รับมรดกเมื่อเราเสียชีวิตไปแล้ว หากเราทำพินัยกรรมโดยระบุข้อมูลที่เกี่ยวข้องไว้ครบถ้วน การทำพินัยกรรมเพียงฉบับเดียวก็ทำให้การจัดสรรทรัพย์สินของเราเป็นไปอย่างสมบูรณ์ได้ อย่างไรก็ตาม หากเจ้ามรดกมีหนี้สิน กองมรดกก็ยังมีหน้าที่รับผิดชอบในหนี้สินนั้นๆ เท่าที่มีทรัพย์สินอยู่


การทำพินัยกรรมสามารถทำเองได้โดยการเขียนด้วยลายมือตัวเองทั้งฉบับ พร้อมลงรายมือชื่อกำกับ เรียกว่า “พินัยกรรมแบบเขียนเองทั้งฉบับ” ข้อมูลหลักๆ ที่ต้องระบุในพินัยกรรมประกอบด้วย

  • ข้อมูลส่วนตัว (ชื่อ นามสกุล อายุ) 
  • รายการทรัพย์สินต่างๆ (บ้าน ที่ดิน ใบหุ้น เงินฝาก) 
  • กรมธรรม์ประกัน (ประกันชีวิต ประกันสุขภาพ) 
  • รายชื่อผู้รับมรดก 
  • ผู้จัดการมรดก 
  • จำนวนทรัพย์สินที่ต้องการจัดสรรให้แต่ละคน 
  • ลายมือชื่อ และวันเดือนปีที่ทำพินัยกรรม 

แม้ไม่มีรูปแบบมาตรฐานหรือไม่จำเป็นต้องมีพยาน แต่ควรมีพยานยืนยันว่าเราเขียนพินัยกรรมฉบับนี้จริงๆ ซึ่งพยานไม่ควรมีส่วนได้เสียและไม่เป็นผู้รับมรดกดังกล่าวด้วย ทั้งนี้ ตามกฎหมายสามารถระบุให้ใครหรือองค์กรใดเป็นผู้รับมรดกก็ได้ ไม่จำเป็นต้องเป็นทายาท

02


เขียนพินัยกรรม

ตามกฎหมายพินัยกรรมทั่วไป ทำได้ 4 รูปแบบ คือ

1. พินัยกรรมแบบธรรมดาที่ทำเป็นหนังสือ ผู้ทำพินัยกรรมต้องลงลายมือชื่อหรือพิมพ์ลายนิ้วมื้อไว้ต่อหน้าพยานอย่างน้อยสองคนพร้อมกัน ซึ่งพยานต้องไม่เป็นผู้รับมรดก

2. พินัยกรรมแบบเขียนเองทั้งฉบับ ผู้ทำพินัยกรรมจะต้องเขียนข้อความทั้งหมดด้วยลายมือของตัวเองและต้องลงลายมือชื่อกำกับไว้เท่านั้น ไม่สามารถใช้พิมพ์ลายนิ้วมือหรือใช้ตราประทับได้ ซึ่งพินัยกรรมรูปแบบนี้กฎหมายไม่ได้กำหนดว่าต้องมีพยาน

3. พินัยกรรมแบบเอกสารฝ่ายเมือง ผู้ทำพินัยกรรมสามารถไปขอทำได้ที่ที่ว่าการเขตหรืออำเภอ ซึ่งต้องมีพยานอย่าวน้อยสองคนโดยผู้อำนวยการเขตหรือนายอำเภอต้องจดรายละเอียด และอ่านให้ผู้ทำพินัยกรรมและพยานฟังก่อน แล้วจึงลงลายมือชื่อกำกับไว้ทั้งผู้ทำพินัยกรรม พยาน และผู้อำนวยการเขตหรือนายอำเภอ

4. พินัยกรรมแบบเอกสารลับ เมื่อทำพินัยกรรมเรียบร้อยแล้ว ผู้ทำพินัยกรรมต้องปิดผนึกและลงลายมือชื่อกำกับตรงรอยที่ปิดผนึก แล้วทำพินัยกรรมไปแสดง ต่อผู้อำนวยการเขตหรือนายอำเภอ จากนั้นผู้อำนวยการเขตหรือนายอำเภอและพยานอย่างน้อยสองคนต้องลงลายมือชื่อกำกับบนซองพินัยกรรม

03


ศึกษากฎหมายภาษี

ศึกษากฎหมายภาษีมรดกและภาษีการให้

การวางแผนมรดก จำเป็นต้องพิจารณาภาษีการให้และภาษีมรดกประกอบด้วย ทรัพย์สินที่จะต้องเสียภาษีมรดก ได้แก่ อสังหาริมทรัพย์ ยานพาหนะ หลักทรัพย์ตามกฎหมาย เงินฝาก และทรัพย์สินทางการเงินที่มีมูลค่าเกินกว่าที่กฎหมายกำหนด เพื่อให้การวางแผนเกิดประโยชน์สูงสุด โดยหลักเกณฑ์ในเบื้องต้น คือ

ภาษีมรดก

เกิดขึ้นเมื่อมีการเสียชีวิตของเจ้าของมรดกและส่งต่อทรัพย์สินไปตามพินัยกรรม ซึ่งทรัพย์สินที่ต้องเสียภาษีมรดกจะมีกำหนดไว้ตามกฎหมายว่าต้องเสียเท่าไหร่

การประเมินมูลค่าทรัพย์สิน

อสังหาริมทรัพย์ ให้คำนวณจากราคาประเมิน

หลักทรัพย์ ให้คำนวณจากราคาปิดตลาด ณ วันโอน

อัตราภาษี

ปัจจุบัน (ปี 2563) กำหนดให้เสียเฉพาะส่วนเกิน 100 ล้านบาท ในอัตรา 10% เมื่อผู้รับมรดกเป็นบุคคลธรรมดาทั่วไป เช่น ผู้รับตามพินัยกรรม หรือ อัตรา 5% เมื่อผู้รับมรดกเป็นบุพการีหรือทายาท

ภาษีจากการให้ 

เกิดขึ้นเมื่อเจ้าของมรดกได้มอบทรัพย์สินในขณะที่มีชีวิตอยู่ให้กับทายาท ซึ่งการให้ดังกล่าว แบ่งเป็นประเภทสังหาริมทรัพย์และอสังหาริมทรัพย์ โดยส่วนเกินของมูลค่าที่กฎหมายกำหนด จะต้องนำมาคำนวณภาษี

สังหาริมทรัพย์

ถ้ามอบให้บุคคลธรรมดา ส่วนเกินมูลค่าทรัพย์สิน 10 ล้านบาท จะเสียภาษี 5% แต่ถ้ามอบให้ทายาทตามกฎหมาย ทายาทสนิท หรือให้ด้วยความเสน่หา ส่วนเกินมูลค่าทรัพย์สิน 20 ล้านบาท จะเสียภาษี 5%

อสังหาริมทรัพย์ 

เฉพาะการมอบให้บุตรที่ชอบด้วยกฎหมาย แต่ไม่รวมถึงบุตรบุญธรรม จะเสียภาษี 5% ของส่วนเกินมูลค่าทรัพย์สิน 20 ล้านบาท

วางแผนการส่งมอบมรดก

กรณีที่วางแผนส่งมอบมรดกในวันที่เรายังอยู่ ควรทยอยส่งมอบทรัพย์สินในแต่ละปีเป็นจำนวนเงินที่เหมาะสมและไม่ทำให้เสียภาษีมากจนเกินไป เช่น มีมรดก 60 ล้านบาทและทายาท 1 คน ก็สามารถทยอยมอบให้ปีละ 20 ล้านบาทจำนวน 3 ปี ก็จะไม่เสียภาษีจากส่วนเกินมูลค่าทรัพย์สินที่จะให้เป็นมรดก

ข้อควรระวัง

  • ไม่ควรมอบมรดกชิ้นเดียวกันกับทายาทหลายๆ คน เพราะอาจเกิดปัญหาระหว่างทายาทได้
  • ไม่ควรรีบมอบมรดกเพราะกลัวการจ่ายภาษี จนเราเกิดความลำบากเมื่อทรัพย์สินถูกแจกจ่ายไปแล้ว

04


วางแผนส่งมอบมรดก

05


วางแผนด้วยประกัน

วางแผนส่งต่อมรดกในรูปแบบการทำประกันเพื่อให้ได้รับประโยชน์ทางภาษี

หากมีมรดกเป็นเงินสดจำนวนมากและไม่สามารถทยอยมอบให้ได้ เราควรเปลี่ยนทรัพย์สินที่เสียภาษีมรดกเป็นทรัพย์สินที่ได้รับสิทธิประโยชน์ทางภาษี เช่น การทำประกันชีวิตเพื่อรับสินไหมมรณกรรม โดยระบุผู้รับประโยชน์ในกรมธรรม์เป็นทายาทที่เราต้องการมอบทรัพย์สินก้อนสุดท้ายไว้ให้ วิธีนี้ นอกจากจะช่วยเรื่องการวางแผนภาษีมรดกแล้ว ยังสามารถช่วยป้องกันความเสี่ยงจากการเก็บเงินสดจำนวนมากไว้ในธนาคาร และยังช่วยลดจำนวนเงินก้อนที่ต้องเก็บเป็นมรดกได้อีกทางหนึ่ง

ตัวอย่าง การวางแผนส่งมอบมรดกเป็นทรัพย์สินเงินสด จำนวน 150 ล้านบาท

พ่อ อายุ 50 ปี ต้องการทำพินัยกรรมเป็นเงินสดให้ทายาท 2 คน หากแบ่งเท่ากันจะได้คนละ 75 ล้านบาท

สรุป พ่อไม่ต้องเก็บเงินสดทั้งก้อนไว้ให้ทายาทหลังจากเสียชีวิต แต่วางแผนทำประกันชีวิต และเปลี่ยนเงินสดเป็นทุนประกัน ด้วยการฝากเงินไว้กับบริษัทประกันแทน นอกจากพ่อจะสามารถสร้างทรัพย์สินเพื่อส่งมอบให้ทายาทเพิ่มขึ้นจาก 150 เป็น 200 ล้านบาทแล้ว ยังไม่ต้องเก็บเงินสดทั้งหมดไว้เป็นเงินมรดก แต่ยังมีเงินเหลือไว้ใช้จ่ายส่วนตัว หรือทำประโยชน์สาธารณะ เช่น การทำมูลนิธิ หรือเงินบริจาค อีกทั้ง สินไหมมรณกรรมยังถือเป็นเงินมรดกที่ไม่ต้องเสียภาษีอีกด้วย

ปรับปรุงแก้ไขให้ทันสมัยตลอดเวลา

เมื่อทำพินัยกรรมแล้ว ควรกลับมาปรับปรุงแก้ไขอย่างน้อยทุกๆ 3 - 5 ปี เพื่อให้แน่ใจว่าพินัยกรรมของเราจะถูกนำไปปฏิบัติตามที่เราต้องการ และควรบอกกล่าวแก่คู่สมรสหรือบุคคลใกล้ชิดที่ไว้ใจได้ให้ทราบด้วยว่าพินัยกรรมฉบับล่าสุดนั้นจัดทำขึ้นเมื่อไหร่ และเก็บไว้ที่ใด รวมถึงเอกสารสำคัญต่างๆ เพื่อให้พวกเขาเหล่านั้นสามารถนำพินัยกรรมและเอกสารต่างๆ มาดำเนินการต่อไปได้

06


ปรับปรุงแก้ไข